ภูมิปัญญาชาวบ้านประเภทต่างๆ


ภูมิปัญญาชาวบ้านประเภทต่างๆ
ภูมิปัญญาชาวบ้านด้านการทำมาหากิน          แม้วิถีชีวิตของชาวบ้านเมื่อก่อนจะดูเรียบง่ายกว่าทุกวันนี้ และยังอาศัยธรรมชาติและแรงงานเป็นหลักในการทำมาหากิน แต่พวกเขาก็ต้องใช้สติปัญญาที่บรรพบุรุษถ่ายทอดมาให้เพื่อจะได้อยู่รอด ทั้งนี้เพราะปัญหาต่างๆ ในอดีตก็ยังมีไม่น้อย โดยเฉพาะเมื่อครอบครัวมีสมาชิกมากขึ้น จำเป็นต้องขยายที่ทำกิน ต้องหักร้างถางพง บุกเบิก พื้นที่ทำกินใหม่ การปรับพื้นที่ปั้นคันนาเพื่อทำนาซึ่งเป็นงานที่หนัก การทำไร่ทำนา ปลูกพืชเลี้ยงสัตว์และดูแลรักษาให้เติบโตและได้ผล เป็นงานที่ต้องอาศัยความรู้ความสามารถ การจับปลาล่าสัตว์ก็มีวิธีการ บางคนมีความ สามารถมาก รู้ว่าเวลาไหนที่ใดและวิธีใดจะจับปลาได้ดีที่สุด คนที่ไม่เก่งก็ต้องใช้เวลานานและได้ปลาน้อย การล่าสัตว์ก็เช่นเดียวกัน
        การจัดการแหล่งน้ำเพื่อการเกษตร ก็เป็นความรู้ความสามารถที่มีมาแต่โบราณ คนทางภาคเหนือรู้จักบริหารน้ำเพื่อการเกษตรและเพื่อการบริโภคต่างๆ โดยการจัดระบบเหมืองฝาย มีการจัดแบ่งปันน้ำกันตามระบบประเพณีที่ สืบทอดกันมา มีหัวหน้าที่ทุกคนยอมรับ มีคณะกรรมการจัดสรรน้ำตามสัดส่วนและตามพื้นที่ทำกิน นับเป็นความรู้ที่ทำให้ชุมชนต่างๆ ที่อาศัยอยู่ใกล้ลำน้ำ ไม่ว่าต้นน้ำหรือปลายน้ำ ได้รับการแบ่งปันน้ำอย่างยุติธรรม ทุกคนได้ประโยชน์และอยู่ร่วมกันอย่างสันติ
        ชาวบ้านรู้จักการแปรรูปผลิตผลในหลายรูปแบบ การถนอมอาหารให้กินได้นาน การดองการหมัก เช่น ปลาร้า น้ำปลา ผักดอง ปลาเค็ม เนื้อเค็ม ปลาแห้ง เนื้อแห้ง การแปรรูปข้าวก็ทำได้มากมายนับร้อยชนิด เช่น ขนมต่างๆ แต่ ละพิธีกรรมและแต่ละงานบุญประเพณี มีข้าวและขนมในรูปแบบไม่ซ้ำกัน ตั้งแต่ขนมจีน สังขยา ไปถึงขนมในงานสารท กาละแม ขนมครก และอื่นๆ ซึ่งยังพอมีให้เห็นอยู่จำนวนหนึ่ง ในปัจจุบันส่วนใหญ่ปรับเปลี่ยนมาเป็นการผลิตเพื่อขาย หรือเป็นอุตสาหกรรมในครัวเรือน
ภาพ:Pp8.jpg

]ภูมิปัญญาชาวบ้านด้านการรักษาโรค

         ภูมิปัญญาที่ใช้ในการดูแลรักษา และแก้ปัญหาสุขภาพ เช่น การใช้สมุนไพรเป็นยาและอาหาร พืชสมุนไพร หมอพื้นบ้าน และการแพทย์แผนโบราณ
ภาพ:Pppp9.jpg

 ภูมิปัญญาชาวบ้านด้านการกินอยู่

         ภูมิปัญญาที่ใช้ในการถนอมอาหาร การปรุงอาหาร การกินอาหาร
ภาพ:Pp10.jpg

 ภูมิปัญญาชาวบ้านด้านศิลปกรรม

         ภูมิปัญญาที่ปรากฏในผลงานสร้างสรรค์ด้านจิตรกรรม ประติมากรรม สถาปัตยกรรม และนาฏกรรม
ภาพ:Pp11.jpg

 ภูมิปัญญาชาวบ้านด้านภาษาและวรรณกรรม

         ภูมิปัญญาที่ปรากฏในผลงานสร้างสรรค์ด้านภาษาและสำนวนไทย เช่น คำผญา คำสอน ความเชื่อ ปริศนาคำทาย และ บทเพลงพื้นบ้าน เช่น เพลงแหล่ เพลงกล่อมเด็ก เพลงฉ่อย กลอนลำ เพลงอีแซว เพลงเกี่ยวข้าว ฯลฯ
ภาพ:Pp12.jpg

 ภูมิปัญญาชาวบ้านด้านศาสนา ขนบธรรมเนียมประเพณี

         ภูมิปัญญาที่ใช้ในการปรับประยุกต์พิธีกรรมทางศาสนาเพื่อความมั่นคงของชุมชน ประเพณีเกี่ยวกับชีวิต ตั้งแต่เกิดจนตาย เช่น ประเพณีการเกิด การบวช การแต่งงาน การตาย ฯลฯ
ภาพ:Pp13.jpg

ภูมิปัญญาชาวบ้านด้านการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

         ภูมิปัญญาที่ใช้ในการจัดการทรัพยากรดิน น้ำ และป่าไม้ เช่น การสร้างเขื่อน เหมือง ฝาย การควบคุมคุณภาพน้ำ การป้องกัน น้ำท่วม การจัดการป่าไม้ เช่น การปลูกสวนป่า และการอนุรักษ์ป่า

 ภูมิปัญญาชาวบ้านด้านการอยู่ร่วมกันในสังคม

ภาพ:People_1.jpg

        การอยู่ร่วมกันในชุมชนดั้งเดิมนั้น ส่วนใหญ่จะเป็นญาติพี่น้องไม่กี่ตระกูล ซึ่งได้อพยพย้ายถิ่นฐานมาอยู่ หรือสืบทอดบรรพบุรุษจนนับญาติกันได้ทั้งชุมชน มีคนเฒ่าคนแก่ที่ชาวบ้านเคารพนับถือเป็นผู้นำหน้าที่ของผู้นำไม่ใช่ การสั่ง แต่เป็นผู้ให้คำแนะนำปรึกษา มีความแม่นยำในกฎระเบียบประเพณีการดำเนินชีวิต ตัดสินไกล่เกลี่ยหากเกิดความขัดแย้ง ช่วยกันแก้ไขปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้น
        ปัญหาในชุมชนก็มีไม่น้อย ปัญหาการทำมาหากิน ฝนแล้ง น้ำท่วม โรคระบาด โจรลักวัวควาย เป็นต้น นอกจากนั้น ยังมีปัญหาความขัดแย้งภายในชุมชนหรือระหว่างชุมชน การละเมิดกฎหมายประเพณี ส่วนใหญ่จะเป็นการ "ผิดผี" คือ ผีของบรรพบุรุษ ผู้ซึ่งได้สร้างกฎเกณฑ์ต่างๆ ไว้ เช่น กรณีที่ชายหนุ่มถูกเนื้อต้องตัวหญิงสาวที่ยังไม่แต่งงาน เป็นต้น หากเกิดการผิดผีขึ้นมา ก็ต้องมีพิธีกรรมขอขมา โดยมีคนเฒ่าคนแก่เป็นตัวแทนของบรรพบุรุษ มีการว่ากล่าวสั่งสอนและชดเชยการทำผิดนั้นตามกฎเกณฑ์ที่วางไว้
        ชาวบ้านอยู่อย่างพึ่งพาอาศัยกัน ยามเจ็บไข้ได้ป่วย ยามเกิดอุบัติเหตุเภทภัย ยามที่โจรขโมยวัวควายข้าวของ การช่วยเหลือกันทำงานที่เรียกกันว่า การลงแขก ทั้งแรงกายแรงใจที่มีอยู่ก็จะแบ่งปันช่วยเหลือ เอื้ออาทรกัน การ แลกเปลี่ยนสิ่งของ อาหารการกิน และอื่นๆ จึงเกี่ยวข้องกับวิถีของชุมชน ชาวบ้านช่วยกันเก็บเกี่ยวข้าว สร้างบ้าน หรืองานอื่นที่ต้องการคนมากๆ เพื่อจะได้เสร็จโดยเร็ว ไม่มีการจ้าง

ตัวอย่างผลิตภัณฑ์สินค้าภูมิปัญญาชาวบ้าน

ภาพ:Poomท1.jpg

 กระเป๋าสานไม้ไผ่

         ผู้ผลิต : กลุ่มผลิตภัณฑ์จักสานไม้ไผ่บ้านบางเจ้าฉ่า
         รายละเอียด : ผลิตภัณฑ์จักสานไม้ไผ่บ้านบางเจ้าฉ่า

ภาพ:Poom2.jpg

 กระเป๋าย่านลิเภา (ผสมไม้ไผ่)

ภาพ:Poom4.jpg

ครีมหมักผมคุณยาย

         ผู้ผลิต: กลุ่มแม่บ้านเกษตรกรพัฒนาเมืองประจวบ กลุ่มสตรีเรือนสมุนไพร อ่าวน้อย
         รายละเอียด: ครีมหมักผมคุณยาย ทำให้ผมดำและเงางามพร้อมด้วยน้ำหนักผมที่ทำให้ผมมีประสิทธิภาพมากขึ้น

ภาพ:Poom5.jpg

น้ำส้มควันไม้

         คุณสมบัติพิเศษ: น้ำส้มควันไม้ได้จากการหมัก ไม้ต่างชนิด มีความเป็นกรดสูง น้ำส้มควันไม้ ไม่ใช่ปุ๋ยแต่เป็นตัวเร่งปฏิกิริยา ซึ่งการนำไปใช้ทางเกษตรจะเป็นตัวเสริมประสิทธิภาพให้กับพืชแต่ไม่สามารถใช้แทนปุ๋ยได้

ภาพ:Poom3.jpg

 ไม้แกะสลัก (ปลาอนนท์)

         ผู้ผลิต: กลุ่มผู้ผลิตไม้แกะสลักบ้านถวาย จ.เชียงใหม่