วันพุธที่ 22 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555

เล่นปั้นวัว ปั้นควาย

เล่นขายของ เป่าปี่จากกอข้าว ปืนก้านกล้วย ม้าก้านกล้อวย
สุดยอด ของเล่นตอนเป็นเด็กน้อยเนาะจ้า



โรงเรียนบ้านเกาะแก้ว(การไฟฟ้าอุปถัมภ์):ปั้นดินให้เป็นดาว


ผลงานของเด็กๆจ้า



ขอบคุณภาพเด็กๆจากโรงเรียนบ้านเกาะแก้ว(การไฟฟ้าอุปถัมภ์)
ขจิต ฝอยทอง อาจารย์มหาวิทยาลัย คณะศิลปศาสตร์และวิทยาศาสตร์ ม.เกษตรศาสตร์

เคยเล่น "ไก่ในสุ่ม"กันบ่อจ้า

มื่อนี่นึกขึ้นได้ว่า ตอนสมัยเป็นเด็กน้อยเคยได้ได้เล่น การละเล่นหลายอย่างยุ หนึ่งในนั่นกะคือ "ไก่ในสุ่ม"
แต่ส่วนมากจะเล่นในคือเดือนหงายจ้า


วิธีเล่นมีดังนี้จ้า
1. มีคนเล่นตั้งแต่ 10 คนขึ้นไป แล้วแบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม
เช่นกลุ่ม 1 กับ 2 (เพื่อให้เข้าใจง่ายยิ่งขึ้นจ้า)


2. แต่ละกลุ่มจะมี สุ่ม 1 ใบ (ต้องไปขออณุญาต เฒ่าพ่อยุเฮือนก่อนเด้อจ้า
บ่อซํ่นจะโดน ไม้เรียว เดี๋ยวสิว่าบ่อบอก )


3.ให้แต่ละกลุ่ม แยกกันอยู่ห่างพอประมาณว่า
ต่างฝ่ายต่างบ่อได้ยินกันเวลาแต่ละกลุ่มปรึกษากันจ้า


4.แต่ละกลุ่มให้ปรึกษากันว่า ให้ไผเป็น ไก่ ที่ไปอยู่ในสุ่ม
โดยที่คนจะเป็นไก่
ต้องร้องเลียนแบบเสียงไก่ได้คือคำว่า กุ๊ก (สั้นๆจ้า)
แต่จะร้องเสียงดังหรือค่อยๆกะได้ ถ้าดัดเสียงได้ยิ่งดีจ้า
เพื่อบ่อให้กลุ่มตรงข้ามจำเสียงเฮาได้


5.เมื่อได้ ไก่ ในสุ่มแล้ว ก็หาผ้าผืนใหญ่ๆหรือสาด(เสื่อ)มาคลุม
สุ่มไว้ให้มิดชิด แล้วกะให้มีโตแทนคนนึงหรือ 2คนเฝ้าไก่ (ถ้ามีคนเล่นหลาย)


6.ส่วนคนที่เหลือ กะให้ไปลี้(ซ่อนหรือแอบ) เป็นกลุ่ม
แต่บ่อห่างจากสุ่มไก่ปานใด๋เด้อจ้า เมื่อทั้งสองกลุ่มพร้อมแล้ว
ก็ส่งสัญญาณให้อีกกลุ่มได้รับทราบจ้า


7.เมื่อพร้อมแล้ว ก็ให้กลุ่มที่ 1 ไปหาสุ่มไก่
ของกลุ่มที่ 2 โดยบอกให้ไก่ในสุ่มทำเสียงไก่ให้ฟัง
อย่าลืมเด้อจ้า คำว่า กุ๊ก สั้นๆ แล้วให้ตัวแทนกลุ่มที่ 1 ทายว่าเป็นไผ
ที่อยู่ในสุ่ม ถ้ายังทายบ่อถึกกะให้คนที่ไปลี้(ซ่อนหรือแอบ)
ของกลุ่มที่ 2 ขันเป็นไก่ให้ฟัง เอ๊กอี้เอ้กเอ้กกกกกกกกกกกกกกก
จะครบหรือบ่อครบกะได้ หลังจากนั้นจะมีกำหนดให้ทายยุ 3 เทือเด้อจ้า
(ทายแต่คนในสุ่มทอนั้นว่าเป็นไผ)


8.แล้วให้กลุ่มที่ 2 ไปหาไก่ในสุ่มของกลุ่มที่ 1 เฮ็ดคือกันกับข้อ 7. นั่นหละจ้า
ถ้ากลุ่มใด๋ทายบ่อถูกกะให้เป็นม้าถูกกลุ่มที่ชนะขี่รอบสุ่ม 5หรือ 10 รอบกะว่ากันไปจ้า


จบแล้วจ้าการละเล่นนพื้นบ้านของข้าวหอม พี่น้องเคยได้เล่นกันบ่อจ้า ขอบคุณบ้านมหาดอทคอมจ้า

บุญบั้งไฟภูไท

บุญบั้งไฟภูไท ความงดงามของบุญบั้งไฟไทย:ประเพณีวัฒนธรรมผู้ไทยบุญบั้งไฟตะล้านตำบลกุดหว้า อ.กุฉินารายณ์ จ.กาฬสินธุ์
“จากเมืองบก เมืองวัง แขวงคำม่วน
เคลื่อนขบวน กันมา หาถิ่นใหม่
ถึงคำหว้า ถิ่นอุดม สมดั่งใจ
แดนบั้งไฟ ตะไลล้าน สะท้านเมือง”



เมื่อพูดถึง ภูไท ผู้ไท หรือผู้ไทย หลายคนมักจะนึกถึงความเป็นเอกลักษณ์ของชนชาติพันธุ์ที่มีภาษาพูด การแต่งกาย และวัฒธรรมประเพณีที่แตกต่างออกไปจากคนอีสานที่มีเชื้อสายลาวซึ่งหลายคนก็คงไม่ได้คิดถึงบุญบั้งไฟมากนัก และเมื่อพูดถึงบุญบั้งไฟหลายคนก็มักจะนึกถึงวัฒนธรรมของชาวลาวอีสาน โดยเฉพาะการจัดงานประเพณีของจังหวัดยโสธร แต่สำหรับวัฒนธรรมผู้ไทยบุญบั้งไฟของชาวตำบลกุดหว้ามีความแตกต่างและมีเอกลักษณ์ที่โดดเด่นกว่าพื้นที่อื่น

ในข้อเขียนชิ้นนี้ ผู้เขียนจะขอเล่าถึงความประทับใจจากการเข้าร่วมงานประเพณีบุญบั้งไฟตะไลล้านของตำบลกุดหว้า อำเภอกุฉินารายณ์ จังหวัดกาฬสินธุ์ เมื่อวันที่ 16 พฤษภาคม 2552 ที่ผ่านมา สำหรับงานบุญบั้งไฟตะไลนั้นผู้เขียนทราบว่ามีพื้นที่ที่จัดงานดังกล่าวที่เด่น ๆ อยู่ 2 แห่ง คือที่ตำบลกุดหว้าซึ่งจะจัดขึ้นในเสาร์-อาทิตย์สัปดาห์ที่ 3 ของเดือนพฤษภาคมของทุกปี ส่วนอีกที่หนึ่งก็คือประเพณีบุญบั้งไฟตะไลของชาวบ้านอ้อ ต.เมืองหลวง อ.ห้วยทับทัน จ.ศรีสะเกษ ซึ่งจะจัดขึ้นในวันที่ 14 เมษายนของทุกปี และในปีนี้ยังมีการจัดประเพณีที่ตำบลหนองกุง อำเภอเมือง จ.กาฬสินธุ์ ด้วย ซึ่งก่อนอื่นผู้เขียนขอเท้าความถึงประวัติของหมู่บ้านกุดหว้านี้ก่อน

ประวัติบ้านกุดหว้า
บ้านกุดหว้าเป็นหมู่บ้านเก่าแก่ ก่อตั้งมาประมาณ 150 ปี เดิมมีชื่อว่า “บ้านคำหว้า” ชาวกุดหว้าเป็นชนเผ่าผู้ไทยอพยพมาจากบ้านกระแตบ ตั้งอยู่ระหว่างกลางเมืองบกกับเมืองวัง สปป.ลาว หลังจากศึกเจ้าอนุวงศ์เวียงจันทร์ สมัยรัชกาลที่ 3 ในปี 2370 ราชวงศ์เมืองวังก็แตก ปี 2387 ผู้ไทจากเมืองวังจำนวน 3,443 คน ถูกกวาดต้อนมาที่เมืองกุดสิมนารายณ์ (อำเภอกุฉินารายณ์ในปัจจุบัน) เจ้าเมืองวังได้รับการแต่งตั้งให้เป็นเจ้าเมืองกุดสิมนารายณ์ชื่อ พระธิเบศวงศ์ษา (กอ) เมื่อผู้ก่อตั้งหมู่บ้านนี้คือ นายโฮัง นายโต้น และนายเต้ง ทราบว่าเจ้าเมืองวังมาสร้างบ้านเมืองใหม่ต่างก็พากันมีความยินดีจึงอพยพครอบครัวกว่า 60 คน ข้ามแม่น้ำโขงเข้ามาฝั่งไท (สยาม) ตั้งบ้านเรือนกระจายกันอยู่หลายแห่ง เช่น บังเฮือก บังทรายวังน้ำเย็น ตาด โตน กะเปอะ วังพัน หนองแสง สามพี่น้องได้อยู่ที่บ้านหนองแสง (อำเภอเขาวง) และมีอาชีพล่าสัตว์ป่าเพื่อเป็นอาหารและขาย โดยได้เที่ยวออกล่าเนื้อเป็นประจำ ในเขตเขาภูผาผึ้ง ภูมะตูม ภูผาโง ต่อได้มาเห็นภูมิประเทศบริเวณคำหว้าซึ่งเป็นบริเวณบ้านกุดหว้าปัจจุบันเป็นป่าไม้สูงหนาทึบ มีสัตว์ชุกชุมมีแหล่งน้ำอุดมสมบูรณ์ เป็นประเภทน้ำคำ น้ำบ่อ โดยเฉพาะที่คำหว้ามีต้นหว้าใหญ่ขนาดสามคำโอบอยู่ต้นหนึ่ง มีน้ำพุไหลออกจากโคนต้นมิได้ขาด สัตว์หลายชนิดชอบมาอยู่บริเวณนี้มาก มีความอุดมสมบูรณ์ จึงอพยพครอบครัวมาตั้งบ้านเรือนที่บ้านกุดหว้า ในวันอังคาร ขึ้น 13 ค่ำ เดือน 4 ปีมะเส็ง ปี 2399 เป็นต้นมา บ้านคำหว้าได้เปลี่ยนชื่อเป็นกุดหว้าตามคำสั่งของทางการเมื่อประมาณ 60 ปีที่ผ่านมา ในปี 2532 ได้ยกฐานะเป็นสุขาภิบาล ปี 2542 ได้ยกฐานะขึ้นเป็นเทศบาล มีหมู่บ้านในเขตพื้นที่เทศบาลตำบลจำนวน 6 หมู่ คือ หมู่ที่ 1 2 8 9 11 และ 13

ภูมิปัญญาชาวบ้านในสังคมปัจจุบัน

ภูมิปัญญาชาวบ้านได้ก่อเกิดและสืบทอดกันมาในชุมชนหมู่บ้าน เมื่อหมู่บ้านเปลี่ยนแปลงไปพร้อมกับสังคมสมัยใหม่ ภูมิปัญญาชาวบ้านก็มีการปรับตัวเช่นเดียวกัน
         ความรู้จำนวนมากได้สูญหายไปเพราะไม่มีการปฏิบัติสืบทอด เช่น การรักษาพื้นบ้านบางอย่าง การใช้ยาสมุนไพรบางชนิด เพราะหมอยาเก่ง ๆ ได้เสียชีวิตโดยไม่ได้ถ่ายทอดให้กับคนอื่น หรือถ่ายทอดแต่คนต่อมาไม่ได้ปฏิบัติเพราะชาวบ้านไม่นิยมเหมือนสมัยก่อน ใช้ยาสมัยใหม่และไปหาหมอที่โรงพยาบาลหรือคลินิกง่ายกว่า งานหัตถกรรมทอผ้าหรือเครื่องเงิน เครื่องเขิน แม้จะยังเหลืออยู่ไม่น้อย แต่ก็ได้ถูกพัฒนาไปเป็นการค้า ไม่สามารถรักษาคุณภาพและผีมือแบบดั้งเดิมไว้ได้ ในการทำมาหากินมีการใช้เทคโนโลยีทันสมัย ใช้รถไถนาแทนควาย รถอีแต๋นแทนเกวียน

ภาพ:People_17.jpg

         การลงแขกทำนาปลูกข้าวและปลูกสรางบ้านเรือนก็เกือบจะหมดไป มีการจ้างงานมากขึ้น แรงงานก็หายากกว่าแต่ก่อน ผู้คนอพยพย้ายถิ่น บ้างก็เข้าเมือง บ้างก็ไปทำงานที่อื่น สังคมสมัยใหม่มีระบบการศึกษาในโรงเรียนมีอนามัยและโรงพยาบาล มีโรงหนัง วิทยุ โทรทัศน์ และเครื่องบันเทิงต่างๆ ทำให้ชีวิตทางสังคมของชุมชนหมู่บ้านเปลี่ยนไป มีตำรวจ มีโรงศาล มีเจ้าหน้าที่ราชการฝ่ายปกครอง ฝ่ายพัฒนา และอื่นเข้าไปในหมู่บ้าน บทบาทของวัด พระสงฆ์ คนเฒ่าคนแก่เริ่มลดน้อยลงลงไป
         การทำมาหากินก็เปลี่ยนจากการทำเพื่อยังชีพไปเป็นการผลิตเพื่อการขาย ผู้คนต้องการเงินเพื่อซื้อเครื่องบริโภคต่าง ๆ ทำให้สิ่งแวดล้อมเปลี่ยนไป ผลผลิตจากป่าก็หมด สถานการณ์เช่นนี้ทำให้ผู้นำการพัฒนาหลายคนที่มีบทบาทสำคัญในระดับจังหวัด ระดับภาค และระดับประเทศ เริ่มเห็นความสำคัญของภูมิปัญญาชาวบ้าน หน่วยงานทางภาครัฐและเอกชนให้การสนับสนุน และการส่งเสริมให้มีการอนุรักษ์ ฟื้นฟู ประยุกต์ และค้นคิดสิ่งใหม่ ความรู้ใหม่เพื่อประโยชน์สุขของสังคม

ภาพ:People_18.jpg

ภูมิปัญญาชาวบ้านเกิดประโยชน์แก่สังคมปัจจุบัน

ภูมิปัญญาเหล่านี้เป็นความรู้ความสามารถที่บรรพบุรุษได้สร้างสรรค์และถ่ายทอดมาให้เรา มีวิธีการหลายอย่างที่ทำให้ความรู้เหล่านี้เกิดประโยชน์แก่สังคมปัจจุบัน คือ
        การอนุรักษ์ คือ การบำรุงรักษาสิ่งที่ดีงามไว้เช่น ประเพณีต่าง ๆ หัตถกรรม และคุณค่าหรือการปฏิบัติตนเพื่อความสัมพันธ์อันดีกับคนและสิ่งแวดล้อม
        การฟื้นฟู คือ การรื้อฟื้นสิ่งที่ดีงามที่หายไป เลิกไป หรือกำลังจะเลิก ให้กลับมาเป็นประโยชน์ เช่นการรื้อฟื้นดนตรีไทย

ภาพ:People_4.jpg

        การประยุกต์ คือ การปรับหรือการผสมผสานความรู้เก่ากับความรู้ใหม่เข้าด้วยกัน ให้เหมาะสมกับสมัยใหม่ เช่น การใช้ยาสมุนไพรในโรงพยาบาล ประสานกับการรักษาสมัยใหม่ การทำพิธีบวชต้นไม้ เพื่อให้เกิดสำนึกการอนุรักษ์ธรรมชาติ รักษาป่ามากยิ่งขึ้น การประยุกต์ประเพณีการทำบุญข้าวเปลือกที่วัด มาเป็นการสร้างธนาคารข้าว เพื่อช่วยเหลือผู้ที่ขาดแคลน
        การสร้างใหม่ คือ การค้นคิดใหม่ที่สัมพันธ์กับความรู้ดั้งเดิม เช่น การประดิษฐ์โปงลาง การคิดโครงการพัฒนาเพื่อแก้ไขปัญหาของชุมชน โดยอาศัยคุณค่าความเอื้ออาทรที่ชาวบ้านเคยมีต่อกันมาหารูปแบบใหม่ เช่น การสร้างธนาคารข้าว ธนาคารโคกระบือ การรวมกลุ่มแม่บ้าน เยาวชน เพื่อทำกิจกรรมกันอย่างมีระบบมากยิ่งขึ้น
        ภูมิปัญญาเป็นความรู้ที่ประกอบไปด้วยคุณธรรม ซึ่งสอดคล้องกับวิถีชีวิตดั้งเดิมนั้น ชีวิตของชาวบ้านไม่ได้แบ่งแยกเป็นส่วน ๆ หากแต่ทุกอย่างมีความสัมพันธ์กันทำมาหากิน การร่วมกันในชุมชน การปฏิบัติศาสนา พิธีกรรมและประเพณี
        ความรู้เป็นคุณธรรม เมื่อผู้คนใช้ความรู้นั้นเพื่อสร้างความสัมพันธ์ที่ดีระหว่าง คนกับคน คนกับธรรมชาติ และคนกับสิ่งเหนือธรรมชาติ ความรู้เหล่านี้เกี่ยวข้องกับการดำเนินชีวิต เป็นแนวทาง หลักเกณฑ์ วิธีปฏิบัติที่เกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างสมาชิกของครอบครัว ความสัมพันธ์กับคนอื่น ความสัมพันธ์กับผู้ล่วงลับไปแล้ว กับสิ่งศักดิ์สิทธิ์ และกับธรรมชาติ
        ความรู้เรื่องทำมาหากินมีอยู่มาก เช่นการทำไร่ทำนา การปลูกพืช การเลี้ยงสัตว์ การจับปลา จับสัตว์ การผ้า ทั้งผ้าฝ้ายและผ้าไหม ซึ่งมีลวดลายที่สะท้อนให้เห็นถึงความเชื่อและความคิดของชาวบ้าน การทำเครื่องปั้นดินเผา การแกะสลักไม้และหิน ซึ่งจะพบได้จากโบราณสถานในพิพิธภัณฑ์ต่าง ๆ

แนวคิดเรื่องความสมดุลของชีวิต

แนวคิดเรื่องความสมดุลของชีวิต เป็นแนวคิดพื้นฐานของภูมิปัญญาชาวบ้าน การแพทย์แผนไทยหรือที่เคยเรียกกันว่า การแพทย์แผนโบราณนั้นมีหลักการว่า คนมีสุขภาพดีเมื่อร่างกายมีความสมดุลระหว่างธาตุทั้ง 4 คือ ดิน น้ำ ลม ไฟ คนเจ็บไข้ได้ป่วยเพราะธาตุขาดความสมดุล จะมีการปรับธาตุ โดยใช้ยาสมุนไพรหรือวิธีการอื่นๆ คนเป็นไข้ตัวร้อน หมอยาพื้นบ้านจะให้ยาเย็นเพื่อลดไข้ เป็นต้น
         การดำเนินชีวิตประจำวันก็เช่นเดียวกัน ชาวบ้านเชื่อว่าจะต้องรักษาความสมดุลในความสัมพันธ์สามด้าน คือ
         - ความสัมพันธ์กับคนในครอบครัว ญาติพี่น้อง เพื่อนบ้านในชุมชนความสัมพันธ์ที่ดี มีหลักเกณฑ์ที่บรรพบุรุษได้สั่งสอนมา เช่น ลูกควรปฏิบัติอย่างไรกับพ่อแม่ กับญาติพี่น้อง กับผู้สูงอายุ คนเฒ่าคนแก่ กับเพื่อนบ้านพ่อแม่ควรเลี้ยงดูลูกอย่างไร ความเอื้ออาทรต่อกันและกัน ช่วยเหลือเกื้อกูลกัน โดยเฉพาะในยามทุกข์ยากหรือมีปัญหา ใคร มีความสามารถพิเศษก็ใช้ความสามารถนั้นช่วยเหลือผู้อื่น เช่น บางคนเป็นหมอยา ก็ช่วยดูแลรักษาคนเจ็บป่วยไม่สบายโดยไม่คิดค่ารักษา มีแต่เพียงการยกครูหรือการรำลึกถึงครูบาอาจารย์ที่ประสาทวิชามาให้เท่านั้น หมอยาต้องทำมาหากินโดยการทำนาทำไร่ เลี้ยงสัตว์เหมือนกับชาวบ้านอื่นๆ บางคนมีความสามารถพิเศษด้านการทำมาหากิน ก็ช่วยสอนลูกหลานให้มีวิชาไปด้วย
         - ความสัมพันธ์ระหว่างคนกับคนในครอบครัวในชุมชน มีกฎเกณฑ์เป็นข้อปฏิบัติและข้อห้ามอย่างชัดเจน มีการแสดงออกทางประเพณี พิธีกรรมและกิจกรรมต่างๆ เช่น การรดน้ำดำหัวผู้ใหญ่ การบายศรีสู่ขวัญ เป็นต้น
         - ความสัมพันธ์กับธรรมชาติ ผู้คนสมัยก่อนพึ่งพาอาศัยธรรมชาติแทบทุกด้าน ตั้งแต่อาหารการกิน เครื่องนุ่งห่ม ที่อยู่อาศัยและยารักษาโรควิทยาศาสตร์และเทคโนโลยียังไม่พัฒนาก้าวหน้าเหมือนทุกวันนี้ ยังไม่มีระบบการค้าแบบสมัยใหม่ ไม่มีตลาด คนไปจับปลาล่าสัตว์ เพื่อเป็นอาหารไปวันๆ ตัดไม้เพื่อสร้างบ้านและใช้สอยตามความ จำเป็นเท่านั้น ไม่ได้ทำเพื่อการค้า ชาวบ้านมีหลักเกณฑ์ในการใช้สิ่งของในธรรมชาติ ไม่ตัดไม้อ่อน ทำให้ต้นไม้ในป่าขึ้นแทนต้นที่ถูกตัดไปได้ตลอดเวลา

วันพุธที่ 1 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555